
เปิดภาคเรียน โรงเรียนวัดบ้านเพชร ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2565
#ประกาศการเปิดภาคเรียน โรงเรียนวัดบ้านเพชร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 …….วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2565……
#ประกาศการเปิดภาคเรียน โรงเรียนวัดบ้านเพชร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 …….วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2565……
เพื่อสร้างการรับรู้ การเข้าถึง และการใช้งาน Platform ของระบบ MOE Safety Center ให้กับผู้ปกครองนักเรียนและนักศึกษา ตามที่สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยศูนย์ความปลอดภัย กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายความปลอดภัย เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยให้แก่นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา จึงได้จัดทำระบบเกี่ยวกับความปลอดภัย โดยที่นักเรียน นักศึกษาและผู้ปกครอง สามารถสมัครใช้งานและแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับความปลอดภัยผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ 4 ช่องทาง ได้แก่ เว็บไซต์, ไลน์ ,Application และ.
โรงเรียนวัดบ้านเพชร จังหวัดอ่างทอง มีชื่อเดิมว่า โรงเรียนประชาบาล ตำบลแสวงหา วัดบ้านเพชร อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง เปิดให้มีการเรียนการสอนวันแรก เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2481 เปิดเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีนักเรียนจำนวน 130 คน ครู 3 คน นายสละ เกลี้ยงสะอาด เป็นครูใหญ่คนแรก ใช้ศาลาการเปรียญวัดบ้านเพชร เป็นสถานที่เรียน
ปีพุทธศักราช 2483 สร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 กว้าง 9 เมตร ยาว 32 เมตร หลังคามุงแฝก ใช้เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว
ปีพุทธศักราช 2490 อาคารเรียนชำรุด รื้อมาสร้างรวมเป็นศาลาการเปรียญวัดและใช้สถานที่เรียน
ปีพุทธศักราช 2505 นายสงัด ทองเครือ ครูใหญ่สร้างอาคารเรียนชั่วคราว ขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว 18 เมตร จ านวน 2 ห้องเรียน ให้ชื่ออาคารว่า “เวฬุอาคารแรงราษฎร์นฤมิต”
ปีพุทธศักราช 2507 ได้จัดสรรงบประมาณ 80,000 บาท สร้างอาคารเรียนแบบ ป.1ซ จำนวน 3 ห้องเรียน คณะครูและผู้ปกครองนักเรียนได้บริจาคสมทบ 16,000 บาท สร้าง 1 ห้องเรียน และห้องเก็บ
ของด้านหลังอีก 1 ห้อง
ปีพุทธศักราช 2512 เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 7
ปีพุทธศักราช 2513 นายหลุย เผ่นโผน ครูใหญ่ ของบประมาณจากกองฉลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 240,000 บาท สร้างอาคารเรียน แบบ 014 จำนวน 5 ห้องเรียน เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษา เปิดสอนได้ 3 ปี จึงแยกไปสร้างอาคารเรียน เป็นโรงเรียนมัธยมระดับอำเภอ
ปีพุทธศักราช 2525 ทดลองปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนกลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพ ได้รับงบประมาณ 50,000 บาท สมทบอีก 17,500 บาท ปรับปรุงห้องสมุดและโรงฝึกงาน
ปีพุทธศักราช 2541 ในวันที่ 22 ธันวาคม 2541 จัดสรรงบประมาณ 80,000 บาท เป็นค่าอุปกรณ์สนามเด็กเล่น
ปีพุทธศักราช 2542 ได้รับงบประมาณจากมิยาซาว่า จำนวน 816,500 บาท ท าพิธีเปิดอาคารเรียน
ปีงบประมาณ 2543 ได้รับงบประมาณ 100,000 บาทสร้างสนามฟุตบอล แบบ ฟ.1
ปีพุทธศักราช 2550 ได้รับงบประมาณจำนวน 61,200 บาท ติดตั้งพัดลมเพดาน
ปีพุทธศักราช 2552 องค์การบริหารส่วนตำบลแสวงหาได้มาสร้างโครงสร้างอาคารอเนกประสงค์ กว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร งบประมาณ จำนวน 260,000 บาท
ปีพุทธศักราช 2553 โรงเรียนครบ 72 ปี การก่อตั้งโรงเรียนได้สร้างส้วมให้นักเรียน ชั้นอนุบาล 2 ห้อง และส้วมสำหรับนักเรียนประถมศึกษา 1 หลัง 4 ที่นั่ง
ปีพุทธศักราช 2559 ได้รับงบประมาณ 400,000 บาท ทาสีภายนอกอาคาร ป.1 ซ เทฐานรอบ อาคารเอนกประสงค์พร้อมปูกระเบื้อง
ปีพุทธศักราช 2556 ได้รับงบประมาณสร้างส้วม แบบ สปช.204/45 จ านวน 4 ห้อง งบประมาณ 233,600 บาท
ปีพุทธศักราช 2557 ได้รับจัดสรรงบประมาณ 104,200 บาท เปลี่ยนสายไฟฟ้าอาคาร 014
ปีพุทธศักราช 2558 ได้รับจัดสรรงบประมาณเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาอาคาร 014 จำนวน 312,500 บาท
ปัจจุบันโรงเรียนวัดบ้านเพชร มีอาคารเรียน จำนวน 3 หลัง โรงอาหาร 1 หลัง ส้วม 2 หลัง สนามเด็กเล่น 1 สนาม สนามฟุตบอล 1 สนาม สนามวอลเลย์บอล 1 สนาม
ปัจจุบันโรงเรียนได้จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัยถึงระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 1- 6
วิสัยทัศน์
โรงเรียนวัดบ้านเพชร มุ่งจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐาน พัฒนาคนดีสู่สังคม โดยการบริหาร
แบบมีส่วนร่วม สภาพแวดล้อมน่าอยู่ ผู้เรียนมีทักษะชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ปัญฺญา นราน รตน “ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน”
พันธกิจ
1. มุ่งให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพแห่งตน สู่คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษากำหนด
2. พัฒนาระบบบริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาลเน้นการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3. จัดสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่เอื้อต่อการเรียนรู้
4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
5. ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรมพร้อมเป็นคนดีในสังคม
เป้าประสงค์
1. ผู้เรียนทุกคนได้รับการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรกำหนด
2. ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้มีขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน อย่างมีประสิทธิภาพบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด
3. การบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเสริมความเข้มแข็งด้วยหลักธรรมาภิบาลเป็น เครื่องมือ และกลไกในการขับเคลื่อนสู่คุณภาพมาตรฐานชาติกำหนด
4. สภาพแวดล้อมสะอาด น่าอยู่ น่าเรียน
5. นักเรียนมีทักษะชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
6. นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข